พุยพุย

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 16
วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ
- ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนและในสัปดาห์นี้ก็จะเป็นการสอนของหน่วยต่างๆตามวันที่แต่ละกลุ่มได้จับฉลากไว้


วันจันทร์ หน่วยไก่
- ให้หยิบไก่ออกทีละตัวและแยกจำนวนไก่ที่เหมือนกันเข้าไว้ด้วยกันและนับว่ามีไก่ทั้งหมดกี่ตัว







วันอังคาร หน่วยนม
- เป็นการสอนให้เด็กดูความเหมือนความต่างของนมต่างๆ เช่น นมช็อกโกแลต นมถั่วเหลือง
ว่ามีสี กลิ่น รสชาติแตกต่างกันอย่างไร





วันพุธ มีสองหน่วย คือ หน่วยข้าวกับหน่วยส้ม
- เป็นการสอนเกี่ยวกับการทำน้ำหมัก ให้แบ่งกลุ่มแล้วได้ลงมือทำน้ำหมัก







หน่วยส้ม
- เป็นการถนอมอาหาร และให้แต่ละคนชิมรสชาติของส้มสดกับส้มเชื่อมว่าอันไหนที่เราชอบมากที่สุด










วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย
- เป็นการสอนเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกล้วย ซึ่งจะถามเด็กและเด็กก็จะตอบคำถามของครู
เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกล้วย





วันศุกร์ หน่วยน้ำ การทำน้ำอัญชันมะนาว

- ให้เด็กแบ่งเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ล้างดอกอัญชันและมะนาว
ฐานที่ 2 คั้นน้ำดอกอัญชัน
ฐานที่ 3 ต้มดอกอัญชัน
ฐานที่ 4 การผสมน้ำอัญชัน

- จะให้เด็กได้ทำน้ำอัญชันด้วยตนเองซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ฐาน และให้เด็กทำแต่ละฐานครบทุกฐาน
เพื่อที่จะให้เด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำ เมื่อเราคั้นน้ำอัญชันก็จะมีน้ำออกมาซึ่งทำให้เรารู้ว่าน้ำไม่เพียงแต่จะอยู่ในแม่น้ำลำคลองอย่างเดียวแต่น้ำก็จะมีอยู่ในทุกๆที่ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้หรือผลไม้ก็ย่อมมีน้ำเหมือนกัน และเมือได้คั้นน้ำอัญชันเสร็จก็ได้บีบน้ำมะนาวใส่ หลังจากนั้นก็น้ำอัญชันก็จะกลายเป็นสีม่วง และนำไปใส่น้ำแข็งอย่างน่ารับประทาน













การประยุกต์ใช้
- การสอนในแต่ละหน่วยจะก็จะให้ความรู้แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วย ซึ่งการสอนแต่ละหน่วยจะช่วยให้เด็กได้ประสบการณ์ที่สำคัญ ได้ความรู้จากการที่ทำกิจกรรม มีการสนทนาระหว่างครูกับนักเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสอดแทรกความรู้เนื้อหาต่างๆ

การประเมิน

ประเมินผู้สอน
- อาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย อธิบายเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนชัดเจน ให้ความรู้ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
และให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เราเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้จริง

ประเมินตนเอง
- ได้ความรู้เกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ ได้ทำกิจกรรม Cooking ได้ประสบการณ์ในการสอนเพิ่มขึ้น
ได้ฝึกความกล้าแสดงออก ได้แสดงความคิดเห็นและได้ฝึกทักษะกระบวนการ

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจอาจารย์ ตั้งใจกิจกรรมที่ตนเองได้รับ ได้พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการสอนหน่วยต่างๆ
บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานค่ะ




การบันทึกครั้งที่ 15 
วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.




ความรู้ที่ได้รับ
- ในสัปดาห์นี้นักศึกษาได้จับกลุ่มกันเป็นหน่วยที่ทำและเริ่มเขียนแผนการสอน

หน่วย น้ำ
1. วันจันทร์ = บงกช เลือกประเภทของน้ำ
2. วันอังคาร = สุริยาพร เลือกลักษณะของน้้ำ
3. วันพุธ = ศิริวรรณ การดูแลรักษาน้ำ
4. วันพฤหัส = อารักษ์ เลือกประโยชน์และโทษของน้ำ
5. วันศุกร์ = ปฐมพร เลือกทำ Cooking จากน้ำ คือ การทำน้ำอัญชันมะนาว

หน่วย น้ำ การสอนวันอังคาร การทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กได้ทำการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
2. เพื่อให้เด็กได้สังเกตว่าน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามภาชนะ
3. เพื่อให้เด็กได้ทำการทดลองด้วยตนเอง

สาระการเรียนรู้
การทำการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

ประสบการณ์สำคัญ
1. ด้านร่างกาย  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ  เด็กมีความสนุกสนาน
3. ด้านสังคม เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. ด้านสติปัญญา เด็กได้แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ฝึกคิดและวางแผน

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ   แนะนำอุปกรณ์และถามเด็กเกี่ยวกับอุปกรณ์
ขั้นสอน ทำการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ โดยเทน้ำใส่ภาชนะในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้เด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของน้้ำ
ขั้นสรุป ถามเด็กว่าเด็กได้อะไรจากการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

การวัดและประเมินผล
1. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. การพูดคุยและการตั้งคำถาม

การบูรณาการ
1. คณิตศาสตร์
2. วิทยาศาสตร์








การประยุกต์ใช้
- การเขียนแผนการสอนเป็นการสอนทำให้เกิดการคิดและวางแผนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
ต้องมีลำดับขั้นตอน มีทักษะกระบวนการ และประสบการณ์สำคัญ

การประเมิน

ประเมินผู้สอน
- อาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย ละเอียด ให้ความรู้ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ ให้คำแนะนำที่ดี
และอธิบายเนื้อหาให้เราเข้าใจและสามารถนำความรู้กลับไปใช้ได้

ประเมินตนเอง
- เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ได้แสดงความคิดเห็นในการทำงาน ได้ฝึกคิดและวางแผน
ก่อนการปฏิบัติงาน

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย การตอบคำถามของอาจารย์ การแสดงความคิดเห็น
และบรรยากาศของห้องเรียนสนุกสนานมากค่ะ


วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.




ในสัปดาห์นี้นักศึกษากลุ่ม 102 บ่าย วันอังคาร มีภาระกิจทำกิจกรรม
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากประเทศออสเตรีย 
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม





การบันทึกครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเปิดวิดีโอของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 พลังปริศนา

กลุ่มที่ 2 ขวดปริศนา

กลุ่มที่ 3 รถแกนหลอดด้าย

กลุ่มที่ 4 ลูกข่างนักสืบ (กลุ่มของดิฉันเอง)


ใช้ทำงานชิ้นนี้เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
- VDO กลุ่มดิฉันงานที่ต้องปรับปรุง = ใส่ตัวหนังสือ ใส่ตัวเลข ขั้นตอนการทำ

- จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่มแล้วก็สอนหน่วยต่างๆ ที่มีการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา
ศิลปะ สังคม สุขศึกษา (พลศึกษา)โดยอาจารย์ได้เขียนตัวอย่างและอธิบายให้ฟังและดูแล้วจากนั้น
ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียน Mind mapping โดยกลุ่มดิฉันได้เรื่อง น้ำ







ผลงานกลุ่ม





การประยุกต์ใช้
- เด็กได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การทดลองและการสังเกต
การวางแผนก่อนการทำและการทดลอง

การประเมิน

ประเมินผู้สอน
- อาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย ให้รายละเอียดชัดเจน และให้ความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ

ประเมินตนเอง
- ได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และได้วางแผน และได้แสดงความคิดเห็นการทำงานในกลุ่ม

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยกันทำงานกลุ่ม บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน




การบันทึกครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
- ในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอมายแมบของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ส้ม


กลุ่มที่ 2 ไก่


กลุ่มที่่ 3 ข้าว


กลุ่มที่ 4 กล้วย


กลุ่มที่ 5 น้ำ


กลุ่มที่  6  นม


จากนั้นจะเป็นการเรียน 8 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เพื่อดูว่าแต่ละหน่วยนั้นสามารถนำไปประยุกต์หรือไม่




 การประยุกต์ใช้
- นำความรู้เกี่ยวกับการทำมายแมบปิ้งที่ถูกต้อง ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ 

การประเมิน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย และอธิบายเนื่อหาที่แปลกใหม่อยู่เสมอ เพื่อที่จะทำให้เราได้ทราบข้อมูลใหม่ๆที่เรายังไม่รู้จัก

ประเมินตนเอง
- เข้าใจการทำมายแมบปิ้งมากขึ้น ว่าเราควรจะทำมายแมบปิ้งที่สมบูรณ์และถูกต้องได้อย่างไร

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ และนำเสนอมายแมบปิ้งอย่างเต็มที่






การบันทึกครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
- ในต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์

1. นาฬิกาทราย
2. ลวดเต้นระบำ
3. วงโคจรของโลก
4. ทวินแพน
5. กล่องสุริยะจักรวาล
6. โรงละคร ผีเสื้อเริงระบำ
7. รางหรรษา
8. ไข่หรรษา
9. ภาพใต้น้ำ





จากนั้นก็จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์มีอยู่ 8 สาระ 
1. ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นปัญหา
2. ตั้งสมมุติฐาน 
3. ทดลองการใช้ทักษะสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ สรุป อภิปราย
- ต่อมาอาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มทำมายแมบปิ้ง ที่ใกล้ตัวเด็กโดยจะมีประเด็นดังนี้
1. ประเภท แบ่งเกณฑ์ ชนิด บอกสื่อ
2. ลักษณะ เช่น สี รูปร่าง ขนาด
3. การดูแลรักษา การถนอมอาหาร การดำรงชีวิต
4. ประโยชน์ เช่น การสร้างรายได้ การสร้างอาชีพ
5. ข้อควรระวัง โทษ
ทั้งหมดจะมีอยู่ 6 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มกล้วย
2. กลุ่มน้ำ
3. กลุ่มส้ม
4. กลุ่มไก่
5. กลุ่มข้าว
6. กลุ่มนม






การประยุกต์ใช้
- เด็กได้รู้จักของเล่นวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ได้สังเกตและได้ฝึกคิด เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
ได้แสดงความคิดเห็น และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

การประเมิน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย และอธิบายเนื้อหาอย่างครอบคลุม

ประเมินตนเอง
- ได้วางแผน และแสดงความคิดเห็นกับเพื่อน ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน และแสดงความคิดเห็นกันในการทำงานกลุ่ม




การบันทึกครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
- ในช่วงต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำลำดับขั้นตอนในการทำ STEM




- จากนั้นเป็นการจับกลุ่ม พูดคุยกันการทำงานที่เน้นประสบการณ์ ของเล่นที่สามารถทำตามเราได้
ไม่ยุ่งยากจนเกินไป และนำไปลงใน Youtube




ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกทำ ลูกข่างนักสืบและหลังจากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม





การประยุกต์ใช้
- เด็กได้พัฒนาการด้านสมอง ได้ฝึกคิดและวางแผน

การประเมิน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์ใจดีสอนเข้าใจง่าย ละเอียดชัดเจนและคอยให้คำแนะนำอยู่เสมอ

ประเมินตนเอง
- ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่น และได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำของเล่น

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์และตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่